คุณไพจิตร มานะศิลป์
ไพจิตร มานะศิลป์
ผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ในโคราช

DCA ให้ได้ทุกเดือน ยิ่งหุ้นลง ยิ่งเติมพอร์ต มั่นใจว่ายังไง cycle ต้องกลับมาแน่นอน Jitta Ranking หุ้นสหรัฐฯ +114.82%
#รีวิวJittaWealth
เปิดพอร์ตแชมป์ DCA Jitta Ranking หุ้นสหรัฐฯ +114.82%
มีลูกค้า Jitta Wealth จำนวนไม่น้อยที่เชื่อในหลักการ DCA แต่ก็ใช่ว่าทุกคนจะเลือกใช้กลยุทธ์การ DCA ได้อย่างสม่ำเสมอด้วยเงื่อนไขต่างๆ ในการลงทุน แต่หนึ่งในลูกค้าที่ขยันเติมพอร์ตตั้งแต่ Jitta Wealth ยังไม่มีบริการตัดบัญชีเงินฝากอัตโนมัติ จนเป็นหนึ่งในลูกค้าที่มีการ DCA ใน Jitta Ranking หุ้นสหรัฐฯ และ Jitta Ranking หุ้นไทยบ่อยที่สุด ต้องยกให้คุณไพจิตร มานะศิลป์ ผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ในโคราช ที่เชื่อมั่นในหลักการ DCA และตั้งเป้าเติมเงินเข้าพอร์ตให้ได้ทุกเดือน
ปัจจุบัน Jitta Ranking หุ้นสหรัฐฯ ของคุณไพจิตร สร้างผลตอบแทนได้ถึง +114.82% เอาชนะ S&P500 TR ในช่วงเวลาเดียวกัน ที่ทำได้ +60.05% (1 ก.พ. 64-1 ต.ค. 67)
ขณะที่ Jitta Ranking หุ้นไทย ที่ลงทุนตั้งแต่ 13 ก.ค. 63-1 ต.ค. 67 สร้างผลตอบแทนได้ถึง +29.88% ทั้งที่ตลาดหุ้นไทยในปีนี้ร่วงลงหนักมาตั้งแต่ต้นปี และเพิ่งจะมาฟื้นตัวได้ไม่กี่วันที่ผ่านมา
จากนักธุรกิจ สู่ลูกค้า Jitta Wealth
คุณไพจิตรมีประสบการณ์ลงทุนมานับสิบปีแล้ว แต่ในฐานะเจ้าของธุรกิจ เขาไม่ได้มีเวลาที่จะมาลงทุนหุ้นรายตัวด้วยตัวเอง พอร์ตที่เคยมีจึงไม่ค่อยประสบความสำเร็จมากนักในระยะแรกของการลงทุน เขาจึงเน้นหนักมาที่การลงทุนในกองทุนรวมแทน
จนกระทั่งช่วงที่ประเทศไทยและทั่วโลกเกิดการแพร่ระบาดของโควิด19 กิจกรรมทุกอย่างต้องสะดุดหยุดชะงักงัน คุณไพจิตรย้ายมากักตัวอยู่ในกรุงเทพฯ และมีเวลาว่างมากขึ้น สิ่งที่เลือกทำในเวลานั้นคือนั่งฟัง YouTube เรื่องราวการลงทุนจากกูรูหลายๆ ท่าน จนมาสะดุดที่คุณเผ่า ตราวุทธิ์ เหลืองสมบูรณ์ ซีอีโอ Jitta Wealth จึงเปิดเข้าไปฟัง และศึกษาแนวคิดอยู่หลาย ep. ก่อนจะตัดสินใจทดลองเปิดพอร์ตลงทุนกับ Jitta Wealth ด้วย Jitta Ranking หุ้นไทยเป็นพอร์ตแรก เนื่องจากเป็นสินทรัพย์ที่คุ้นเคยที่สุด
คุณไพจิตรเปิดพอร์ตราวเดือนกรกฎาคม 2563 ซึ่งถือเป็นจังหวะที่ดีที่สุดสำหรับหุ้นไทยก็ว่าได้ เพราะเป็นจังหวะที่หุ้นไทยผ่านจุดต่ำสุดมาแล้วจากโควิด19 ทำให้พอร์ตลงทุนของเขาคึกคักมาก กระตุ้นให้เขาเกิดความมั่นใจที่จะเปิดพอร์ต Jitta Ranking หุ้นสหรัฐฯ ตามมาในเดือนกุมภาพันธ์ 2564
สาเหตุที่ตัดสินใจลงทุนกับ Jitta Wealth ในเวลานั้น มาจากสนใจในหลักการ Auto Rebalance ทุก 3 เดือน เพราะเคยเสียหายจากการลงทุนในกองทุนรวมที่ไม่มีการปรับพอร์ตให้อัตโนมัติ
“เราไม่มีเวลาที่จะมาดูแลพอร์ตเองตลอดเวลา และเคยมีประสบการณ์ที่ไม่ดีจากการที่พนักงานแบงก์ ขายกองทุนหรือเงินฝากต่างๆ หากลงทุนครบ 10 ล้านบาท ก็จะได้บัตรเครดิตที่มีสิทธิพิเศษทั้งหลาย แต่สุดท้ายกองทุนที่ขายมาเหล่านั้นเจ๊งหมดเลย เพราะไม่มีการ Rebalance ให้ ต้องคอยทำตามผู้จัดการกองทุนอย่างเดียว ทำให้ไม่ว่าจะกี่บัตรที่ได้มาก็ไม่ประสบความสำเร็จสักบัตร เรียกว่าเจ็บมาเยอะ แต่ที่ได้ฟังคุณเผ่าเคยบอกว่าจะมีการ Auto Rebalance ทุก 3 เดือน เอาเข้าจริง พอมาลงทุนและ DCA อย่างต่อเนื่อง ทำให้รอบการปรับพอร์ตบ่อยขึ้น”
DCA เคล็ดไม่ลับดันผลตอบแทน +114.82%
เคล็ดลับการลงทุนของคุณไพจิตร ที่เน้นการ DCA อย่างต่อเนื่อง ในจังหวะที่ตลาดหุ้นปรับตัวลดลง นอกจาก Jitta Ranking หุ้นไทยและหุ้นสหรัฐฯ ที่คุณไพจิตร DCA บ่อยที่สุดจนสร้างผลตอบแทนที่ชัดเจนแล้ว เขายังได้พิสูจน์ผลลัพธ์ของการ DCA ที่ชัดเจนมากจากพอร์ต Global ETF ที่เขาเปิดไว้ 2 พอร์ต โดยพอร์ตแรกที่มีการ DCA อย่างต่อเนื่องตลอดช่วงเวลาลงทุนกว่า 4 ปี ผลตอบแทนที่ได้อยู่ที่ +35.78% (2 พ.ย. 63-2 ต.ค. 67) เทียบกับพอร์ต Global ETF ที่เปิดตามหลังมาไม่นาน แต่ไม่มีการ DCA เลย กลับสร้างผลตอบแทนได้เพียง +16.47% (4 มี.ค. 64-2 ต.ค. 67) น้อยกว่าเท่าตัวทีเดียว ยิ่งตอกย้ำว่า DCA สร้างผลตอบแทนได้เหนือกว่าจริงๆ
“ผมเชื่อมั่นใน DCA ว่าจะเอาชนะตลาดได้ ไม่ใช่แค่การศึกษาจาก Jitta Wealth เท่านั้น แต่ก็ได้ศึกษามาจากหลายที่ ฟังกูรูมาก็หลายท่าน เราก็มั่นใจว่าหาก DCA ไปแล้ว ต่อให้หุ้นขาขึ้นเราก็จะได้ต้นทุนที่ถูกลง เฉลี่ยแล้วก็ยังดีกว่าตลาดแน่นอน ซึ่งผมได้ลอง DCA มาทุกปี ทุกเดือน ก็เห็นว่าเป็นทางที่ใช่”
ในทางกลับกันพอร์ตที่คุณไพจิตรลงทุนไว้อีกหลายพอร์ต แต่ไม่ค่อยได้ DCA ก็มี และแสดงผลที่ชัดเจนเช่นกัน นั่นคือผลตอบแทนไม่ได้ประทับใจนัก เขายกตัวอย่าง Jitta Ranking หุ้นเวียดนาม ที่เป็นสินทรัพย์ที่ค่อนข้างผันผวนสูง ที่เขาเติมพอร์ตเข้าไปบ้างแต่ไม่บ่อยนัก รวมถึง Thematic DIY ที่ได้เปิดไว้หลายกองและแต่ละกองก็มีธีมย่อยที่อยู่ไส้ในอีกหลายธีมทำให้เขาไม่มีเวลาในการติดตามข่าวสาร เพื่อหาจังหวะในการ DCA มากนัก
แม้ว่ากลยุทธ์การ DCA ของคุณไพจิตร จะมีความต่อเนื่องทุกเดือนแต่ก็ไม่ได้กำหนดตายตัวชัดเจน เพราะต้องการติดตามภาวะตลาดก่อนตัดสินใจลงทุน โดยจะอาศัยจังหวะที่หุ้นลงค่อยเติมพอร์ต แต่หากในช่วงนั้นหุ้นยังอยู่ในช่วงขาขึ้นก็อาจจะเลื่อนการ DCA ไปเป็นเดือนถัดไป แล้วชดเชยด้วยการเติมพอร์ตไป 2 ครั้ง ขณะเดียวกันหากในเดือนนั้นๆ หุ้นลงแรง เขาก็อาจจะเติมพอร์ตมากกว่า 1 ครั้งก็ได้
“การเติมพอร์ตจะทำตอนหุ้นลงเท่านั้น ยิ่งตลาดหุ้นลงเยอะ ยิ่ง DCA จะไม่เติมเงินตอนหุ้นขึ้น เพราะเจ็บมาเยอะ คนส่วนใหญ่จะลงทุนเพิ่มตอนหุ้นกำลังขาขึ้น เสร็จแล้วก็จะไปติดดอย ดังนั้นถ้าเดือนไหนหุ้นสหรัฐฯ ลงเยอะก็จะ DCA ไป 2-3 รอบ เบิ้ลลงไปเลย เพราะมั่นใจว่าอย่างไรแล้วสักวันหนึ่งรอบ cycle จะต้องกลับมาแน่นอน หรืออย่างหุ้นไทยปีนี้ที่ปรับตัวลดลงมามากตั้งแต่ต้นปี เราก็จะเข้าไปเติมเงินบ่อยหน่อย”
เก็บให้ครบทั้งพอร์ตลูกรักและพอร์ตเกษียณ
เป้าหมายการลงทุนของคุณไพจิตรคือการสะสมเงินออมไปเรื่อยๆ ด้วยการ DCA ที่เขาพิสูจน์แล้วว่าจะช่วยสร้างผลตอบแทนได้ดีกว่าตลาด แต่ในฐานะผู้ประกอบธุรกิจที่บางครั้งอาจะมีความจำเป็นต้องใช้เงิน เขาจึงมีการขายพอร์ตออกไปบ้างเพื่อนำเงินไปใช้หมุนเวียนทางธุรกิจ แต่ก็จะนำเงินกลับมาเติมพอร์ตใหม่ทุกครั้ง
“เราจะจับจังหวะเฉพาะตอนซื้อหุ้น แต่ตอนขายก็ขายตามความจำเป็นที่ต้องเอาเงินไปหมุน เดือนไหนที่ขายออก ก็จะมีเติมพอร์ตเข้ามาด้วยเสมอ”
สำหรับพอร์ตที่มีอยู่รวมๆ กว่าสิบพอร์ตนั้น คุณไพจิตรยกให้ Jitta Ranking หุ้นสหรัฐฯ เป็นพอร์ตลูกรัก ด้วยผลตอบแทนที่โดดเด่นชัดเจน แต่หากเป็นพอร์ตสำหรับเกษียณเขายังมองว่า Global ETF น่าจะเหมาะสมที่สุด ด้วยเสถียรภาพในการเติบโตของพอร์ตที่ทำให้เขารู้สึกว่าสามารถลงทุนได้อย่างสบายใจ


*ศึกษาข้อมูลนโยบายการลงทุนและผลตอบแทนย้อนหลังของแต่ละนโยบายได้ที่ jittawealth.com
**ผลตอบแทนในอดีต ไม่สามารถการันตีผลตอบแทนในอนาคต การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจนโยบายการลงทุน เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน การลงทุนต่างประเทศอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน
เรื่องราวอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
คุณธราวุฒิ เกริกกุลธร
คุณธราวุฒิ เกริกกุลธร วิศวกรคุมไลน์การผลิตผู้ถูกจริตกับกองทุนดัชนี และ Global ETF ที่สร้างผลตอบแทนให้แล้ว +31.89% ใน 2 ปี
คุณธราวุฒิ เกริกกุลธร
วิศวกร