ประกาศแจ้งวันหยุดสงกรานต์ 2568
ในช่วงเวลาที่ตลาดการลงทุนทั่วโลกกำลังเผชิญกับความไม่แน่นอน จากสถานการณ์การปรับขึ้นภาษีนำเข้าของประธานาธิบดี Donald Trump
ส่งผลให้เกิดความผันผวนในตลาดหุ้น และทำให้นักลงทุนหลายท่านว้าวุ่นใจ
ทีมงาน Jitta Wealth เข้าใจดีว่า “ความมั่นใจ” สำคัญที่สุดสำหรับนักลงทุน
เพราะฉะนั้น ในช่วงวันหยุดเทศกาล ระหว่างวันที่ 12-15 เมษายน 2568
เรายังคงเปิดให้บริการด้านคำปรึกษาและการดูแลพอร์ตการลงทุนตามปกติ
เราจะไม่หยุด! จะคอยดูแลและให้คำปรึกษาทุกวัน
ในช่วงวันที่ตลาดหยุด ในวันที่ 14-15 เมษายน 2568
คุณยังสามารถโอนเงินลงทุน จัดการพอร์ตผ่านแอปได้ตลอด โดยระบบจะกลับมาเริ่มดำเนินการ และซื้อ-ขายหุ้น ในวันที่ 16 เมษายน เป็นต้นไป
ในช่วงที่ตลาดผันผวนและมีความไม่แน่นอน ทีมงานของเราพร้อมอยู่เคียงข้างนักลงทุนทุกท่าน เพื่อให้ข้อมูล ประเมินสถานการณ์ และช่วยวางแผนการลงทุนให้คุณมั่นใจยิ่งขึ้น
ช่องทางติดต่อที่พร้อมให้บริการตลอดช่วงวันหยุด
- LINE: @JittaWealth
- Facebook Group: Jitta Wealth Official
ขอขอบคุณที่ไว้วางใจให้เราเป็นส่วนหนึ่งในการดูแลการลงทุนของคุณ ขอให้ทุกท่านมีช่วงเวลาแห่งความสุข อุ่นใจ และก้าวผ่านความผันผวนในตลาดไปด้วยกันอย่างมั่นคง
ทีมงาน Jitta Wealth

1. ความเสี่ยงจากความผันผวนของราคาตราสาร (Market Risk)
ความเสี่ยงที่มูลค่าของหลักทรัพย์ที่กองทุนลงทุนจะเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นหรือลดลงจากปัจจัยภายนอก เช่น สภาวะเศรษฐกิจการลงทุน ปัจจัยทางการเมืองทั้งในและต่างประเทศ เป็นต้น ซึ่งพิจารณาได้จากค่า Standard Deviation (SD) ของกองทุน หากกองทุนมีค่า SD สูง แสดงว่ากองทุนมีความผันผวนจากการเปลี่ยนแปลงของราคาหลักทรัพย์ที่สูง
แนวทางการบริหารเพื่อลดความเสี่ยง : บริษัทจัดการจะกระจายสัดส่วนการลงทุนในตราสารต่างๆ อย่างเหมาะสมซึ่งจะทำให้สามารถควบคุมระดับความเสี่ยงโดยรวมของกองทุนอยู่ในอัตราที่เหมาะสมตามนโยบายและมีดุลยภาพกับด้านผลตอบแทนตามที่คาดหวัง
2. ปัจจัยความเสี่ยงจากการดำเนินงานของผู้ออกตราสาร (Business Risk)
กองทุนรวมเป็นผลิตภัณฑ์การลงทุนที่จัดตั้งขึ้น โดยอยู่ภายใต้การบริหารจัดการของบริษัทจัดการกองทุน (Asset Management Company) ความน่าเชื่อถือของกองทุนรวมจึงขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย อาทิ ขนาดของกองทุน ชื่อเสียงและความน่าเชื่อถือของบริษัทจัดการกองทุน รวมถึงคุณภาพของหลักทรัพย์ที่ใช้เป็นสินทรัพย์รองรับภายในกองทุน
แนวทางการบริหารเพื่อลดความเสี่ยง : เลือกลงทุนเฉพาะกองทุนรวมขนาดใหญ่ ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ที่น่าเชื่อถือ มีกฏระเบียบควบคุมที่เหมาะสม และเป็นกองทุนที่ออกโดยบริษัทจัดการกองทุนที่มีชื่อเสียง
3. ความเสี่ยงจากการขาดสภาพคล่องของตราสาร (Liquidity Risk)
ความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากการที่กองทุนไม่สามารถจำหน่ายตราสารนั้น ๆ ได้ในราคาที่เหมาะสมและภายในระยะเวลาอันสมควร
แนวทางการบริหารเพื่อลดความเสี่ยง : บริษัทจัดการจะพิจารณาเลือกลงทุนในตราสารที่มีคุณภาพดีทั้งในด้านความน่าเชื่อถือ และความสามารถในการชำระหนี้ของผู้ออกตราสาร ตลอดจนสภาพคล่องของตราสาร
4. ความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ (Foreign Exchange Rate Risk)
ความเสี่ยงจากการที่กองทุนที่ลงทุนนำเงินไปลงทุนในรูปของสกุลเงินตราต่าง ๆ ดังนั้น ในกรณีที่อัตราแลกเปลี่ยนมีความผันผวน ก็จะส่งผลกระทบต่อมูลค่าหน่วยลงทุนของกองทุนได้
แนวทางการบริหารเพื่อลดความเสี่ยง : เนื่องจากกองทุนมีนโยบายการลงทุนระยะยาว 3-5 ปีขึ้นไป จึงไม่มีสัญญาป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยน
5. ปัจจัยความเสี่ยงจากความสามารถในการชำระหนี้ของผู้ออกตราสาร (Credit Risk)
หมายถึงความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากการตราสารหนี้ที่ลงทุนอยู่ไม่ได้รับผลตอบแทนตามที่ตกลงกันไว้ เนื่องจากผู้ออกตราสารหนี้ไม่มีความสามารถในการชำระหนี้
แนวทางการบริหารเพื่อลดความเสี่ยง : กองทุนมีนโยบายลงทุนเฉพาะ ETF ตราสารทุน ซึ่งไม่มีความเสี่ยงจากความสามารถในการชำระหนี้ของผู้ออกตราสาร หรือลงทุนใน ETF ตราสารหนี้ที่มีการกระจายความเสี่ยงเป็นอย่างดี ทำให้มีความเสี่ยงจากความสามารถในการชำระหนี้ของผู้ออกตราสารต่ำ
6. ความเสี่ยงจากการเข้าทำสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (Leverage Risk)
กองทุนไม่มีโนบายการทำสัญญาซื้อขายล่วงหน้า จึงไม่มีความเสี่ยงนี้
7. ความเสี่ยงจากการลงทุนในตราสารที่มีอันดับความน่าเชื่อถือต่ำกว่าอันดับที่สามารถลงทุนได้ (Non-Investment Grade) หรือที่ไม่มีการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ (Unrated)